พระกรณียกิจ ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี)

พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพระศาสนาเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้

ด้านการศึกษา

ทรงชำนาญในอักษรขอม อักษรพม่า อักษรมอญ และอักษรโรมัน จากการที่ได้ตรวจชำระพระไตรปิฎกบางปกรณ์ ตามที่ได้รับมอบ ซึ่งจะต้องสอบทานอักษรไทยกับต้นฉบับอักษรขอม เกี่ยวกับอักษรพม่า และอักษรโรมัน

  • พ.ศ. 2470 เป็นกรรมการตรวจบาลีไวยากรณ์ในสนามหลวง
  • พ.ศ. 2471 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมชั้นโท-เอกในสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจบาลี ประโยค 4-5-6
  • พ.ศ. 2476 เป็นปีที่เริ่มฟื้นฟูกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยในยุคใหม่ ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการหลายคณะ คือ อนุกรรมการตรวจชำระแบบเรียน เช่น นวโกวาท และ พุทธศาสนสุภาษิต กรรมการอำนวยการหนังสือธรรมจักษุ กรรมการ อุปนายกและนายกกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตลอดมาจนสิ้นพระชนม์

ด้านการปกครองคณะสงฆ์

  • พ.ศ. 2477 เป็นกรรมการคณะธรรมยุต
  • พ.ศ. 2485 เป็นสมาชิกสังฆสภา
  • พ.ศ. 2486 เป็นผู้รักษาการ ในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส
  • พ.ศ. 2489 เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส
  • พ.ศ. 2493 เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายกสมัยที่ 2[10]
  • พ.ศ. 2494 เป็นสังฆนายก สมัยที่ 1[11] และสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่[12]
  • พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
  • พ.ศ. 2479 กรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ฉบับใหม่
  • พ.ศ. 2503 เป็นสังฆนายก ครั้งที่ 2[13]
  • พ.ศ. 2505 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช

ด้านการต่างประเทศ

เสด็จไปดูการพระศาสนาในประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ตามคำเชิญของพุทธบริษัทของประเทศนั้น ๆ ทรงไปร่วมงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช (วัดเบญจมบพิตร) ไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ ย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2504

งานเผยแผ่พระศาสนา

ได้ทรงดำเนินการมาโดยตลอดไปรูปแบบต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้

  • พ.ศ. 2476 ทรงร่วมกับคณะมิตรสหาย ตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก คือ พุทธสมาคม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมการศึกษา
  • พ.ศ. 2477 เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนา (ธรรมกถึก)
  • พ.ศ. 2479 เป็นกรรมการควบคุมการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี และ
  • พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการจัดรายการแสดงธรรมทางวิทยุในวันธรรมสวนะ

ใกล้เคียง

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/...